“จังหวัดระยอง” จากวันนั้นถึงวันนี้
“จังหวัดระยอง” จากวันนั้นถึงวันนี้
สวัสดีค่ะ วันนี้จะนำพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ “จังหวัดระยอง” จากวันนั้นถึงวันนี้
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดระยอง
ระยอง เริ่มปรากฎชื่อในพงศาวดารเมื่อปี พ.ศ.2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีประวัติดั้งเดิมตามข้อสันนิษฐานว่า น่าจะก่อตั้งเมืองขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลงคูค่าย ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม โดยในสมัยโบราณ ระยองมีชนพื้นเมืองคือชาวซอง ซึ่งเป็นเผ่าที่อาศัยอยู่กระจายโดยทั่วไปในภาคตะวันออก ในประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงเมืองระยองในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2
ในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ปี พ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่า มุ่งสู่ตะวันออกมาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยอง และได้ปราบปรามคณะกรรมการเมืองที่แข็งข้อยึดเมืองระยองได้ จากความสามารถครั้งนั้น เหล่าทหารจึงยกย่องให้เป็น “เจ้าตากสิน” ก่อนเดินทัพไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดที่ดินในการกอบกู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้ในปี พ.ศ.2113
ตราจังหวัดระยอง (เริ่มต้น)
ระยองมีชื่อในประวัติศาสตร์ไทย ครั้งแรกในครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าตากสินมหาราชเป็นช่วงสั้นก่อนที่จะเข้าตีจันทบุรีและรวบรวมกำลังทหารเพื่อยึดกู้กรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ในระยอง กองทัพเรือก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นด้วย ปัจจุบันนี้ในเมืองระยองผู้คนก็ยังนับถือพระเจ้าตากสินมหาราช โดยเห็นได้จากอนุสาวรีย์ของพระองค์ ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพลในตัวเมืองระยองที่มีผู้คนมาสักการะมากมาย มากไปกว่านั้นถนนสายสำคัญในตัวเมืองระยองยังมีชื่อว่า “ถนนตากสินมหาราช”
คำว่าระยองเพี้ยนมาจากราย็องเป็นภาษาชองอาจมีความหมายสองอย่าง
- เขตแดน
- ไม้ประดู่
นอกจากนี้ยังภาษาชองคำว่า เพ ชะเมา แกลง ซึ่งการปกครองของระยองในอดีตเคยมีสามอำเภอ ท่าประดู่ บ้านค่าย และแกลง อำเภอท่าประดู่มีประชากรจำนวนน้อยเลยถูกยุบให้เป็นตำบลท่าประดู่ไปรวมตัวกับเมืองระยอง ส่วนอำเภอแกลงเคยเป็นจังหวัดมาก่อนแต่มีประชากรอยู่น้อยมากไปรวมตัวกับเมืองถูกยุบให้เป็นอำเภอ
ธงจังหวัดระยอง
ประชากรที่นครระยองส่วนใหญ่เป็นชาวชองที่สืบเชื้อสายจากเขมรผสมกับจีนที่เหลือเป็นชาวจีนและชาวระยอง แต่ชาวชองบางส่วนผสมกับจีนอยู่ที่อำเภอแกลง ชาวระยองส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้ยังมีผู้นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และลัทธิเต๋าส่วนมากเป็นชาวจีน
ภาษาที่ใช้ในเมืองระยองคือภาษาชองพูดได้บางส่วน ภาษาจีนพูดได้เล็กน้อย แต่ภาษาไทยกลางพูดได้ทั่วจังหวัด การพูดของชาวชองคือการพูดธรรมดา หางเสียงของชาวชอง พูดคำว่า ฮิ นั้นเอง
เขียนโดย #Social Rayong โซเชี่ยล ระยอง